Login  
Image
โปรโมชั่นผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิต ผ่อน 0 % นาน 6 เดือน (*เมื่อช้อปสินค้าครบ 8,000 บาท)

การเลือกใช้ไม้ให้เหมาะกับการใช้งาน 

ชนิดของไม้ 
           
   1. ไม้เนื้ออ่อน  ได้แก่  ไม้ที่มีเนื้อค่อนข้างเหนียว  ทำการเลื่อยหรือตกแต่งได้ง่าย  เนื้อไม้มีลักษณะมีสีซีดจาง  น้ำหนักเบา  ขาดความแข็งแรงทนทาน  รับน้ำหนักได้ไม่ดี  เช่น  ไม้ยาง ไม้ฉำฉา  ไม้กะบาก  ฯลฯ
            
   2. ไม้เนื้อแข็ง  ได้แก่  ไม้ที่มีเนื้อแข็งปานกลาง  ทำการเลื่อย  ไสกบ  ตกแต่งได้ยาก  ลักษณะเนื้อไม้มีสีค่อนข้างเข้มหรืออาจจะค่อนไปทางสีแดง  มีความแข็งแรงทนทาน  เช่น  ไม้ตะเคียน  ไม้ชิงชัน  ไม้เต็ง  ไม้มะม่วง  ฯลฯ
           
   3. ไม้เนื้อแกร่ง  ได้แก่  ไม้ที่มีเนื้อแกร่ง  ทำการเลื่อยตกแต่งได้ยากมาก  ลักษณะเนื้อไม้เป็นมันในตัว  เนื้อแน่น  ลายละเอียด  มีน้ำหนักมาก มีสีเข้มจัดจนถึงสีดำ  มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงเยอะ เช่น  ไม้ประดู่  ไม้แดง  ไม้เกลือ  ฯลฯ

การเลือกไม้

  1. การเลือกไม้มาใช้ในงานประณีตไม้ที่เลือกมาใช้งานประเภทนี้ เป็นไม้ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักหรือต้านแรงมากเหมือนไม้ที่ใช้งานประเภทแรก แต่งานประเภทนี้จะนำไม้ไปประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น บาน ประตู หน้าต่าง  เครื่องเรือน ตู้  โต๊ะ เก้าอี้ หรือครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะทำอย่างประณีตเรียบร้อยและต้องการความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง  เป็นงานที่ทำได้ยากและต้องใช้ฝีมือ  
     
    หลักการเลือกไม้มาใช้งานประเภทนี้
       - ไม้นั้นจะต้องได้จากแก่นไม้ที่สมบูรณ์ คือ จากต้นไม้ที่เจริญเติบโตเติมที่เหมาะสมตามสภาพดินฟ้าอากาศของถิ่นนั้นๆเป็นไม้ที่ตายยืนต้น
       - เป็นไม้ที่หดตัวแล้ว คือเป็นไม้ที่ผึ่งแห้งอยู่ตัวดีแล้ว เมื่อนำมาประกอบสำเร็จรูปจะไม่เกิดอ้าออกจากกันหรือบิดโค้งเสียความงาม
       - ไม้เนื้อละเอียดเหนียวแน่น มีแนวตรง ไสกบตกแต่งได้ง่ายเรียบร้อยขัดมันและชักเงาได้ดี
       -  มีสีสม่ำเสมอกันทุกแผ่น และทุกๆแผ่นมีสีเหมือนกันด้วย
       -  มีลายสวยงามคล้ายๆกัน เพื่อเพลาะไม้เป็นแผ่นเดียวกันได้
       -  เป็นไม้ที่มีตาน้อย ตาไม้ไม่เสีย ไม่มีรอยแตกร้าว เป็นแผล เป็นรอยทะลุ
       -  ไม้ที่เป็นรอยผุ ด่างหรือเน่าเปื่อย (ไม้ที่ยังไม่ได้ไสสังเกตยาก) ทดลองโดยใช้ค้อนเคาะไม้ดีจะมีเสียงแน่นแกร่ง ถ้าไม่ผุหรือเสีย เปราะ ไม่เหนียว มีเสียงดังผลุๆ เลื่อยไม่ติดคลองเลื่อย ไสกบขี้กบจะป่น  
       -  ราคาไม่แพงจนเกินไป

 

  1. การเลือกมาใช้ในงานรับน้ำหนักโดยตรง ได้แก่ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องการความประณีตมากนัก  เช่น  การก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  ไม้จำพวกนี้ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักและต้านทานแรงต่าง  ๆ  มากกว่าความสวยงาม  ความแข็งแรง  จึงเป็นข้อแรกที่จะต้องคัดเอาไม้ที่แข็งแรงเท่าที่จะสามารถทำได้  คือ  ต้องเป็นไม้ที่เนื้อแน่น  แข็งแกร่ง  เหนี่ยว  ไม่เปราะง่าย  ควรเลือกไม้แก่นหรือไม้ที่มีอายุเหมาะแก่การตัด  ไม่มีรอยชำรุดเสียหาย  เช่น  เป็นตา  ผุ  แตกร้าว  ปิดงอ  คด  โค้ง และเป็นไม้ที่ผ่านการผึ่งมาได้ที่พอเหมาะแก่งานประเภทนี้

การเลือกไม้

 

การเลือกไม้ที่จะนำมาใช้งานต้องพิจารณาใน  2  ประเด็นคือ

  1. การเลือกไม้มาใช้ในงานประณีตไม้ที่เลือกมาใช้งานประเภทนี้ เป็นไม้ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักหรือต้านแรงมากเหมือนไม้ที่ใช้งานประเภทแรก แต่งานประเภทนี้จะนำไม้ไปประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น บาน ประตู  หน้าต่าง  เครื่องเรือน ตู้  โต๊ะ เก้าอี้ หรือครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะทำอย่างประณีตเรียบร้อยและต้องการความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง  เป็นงานที่ทำได้ยากและต้องใช้ฝีมือ  
     

หลักการเลือกไม้มาใช้งานประเภทนี้
   - ไม้นั้นจะต้องได้จากแก่นไม้ที่สมบูรณ์ คือ จากต้นไม้ที่เจริญเติบโตเติมที่เหมาะสมตามสภาพดินฟ้าอากาศของถิ่นนั้นๆเป็นไม้ที่ตายยืนต้น
   - เป็นไม้ที่หดตัวแล้ว คือเป็นไม้ที่ผึ่งแห้งอยู่ตัวดีแล้ว เมื่อนำมาประกอบสำเร็จรูปจะไม่เกิดอ้าออกจากกันหรือบิดโค้งเสียความงาม
   - ไม้เนื้อละเอียดเหนียวแน่น มีแนวตรง ไสกบตกแต่งได้ง่ายเรียบร้อยขัดมันและชักเงาได้ดี
   -  มีสีสม่ำเสมอกันทุกแผ่น และทุกๆแผ่นมีสีเหมือนกันด้วย
   -  มีลายสวยงามคล้ายๆกัน เพื่อเพลาะไม้เป็นแผ่นเดียวกันได้
   -  เป็นไม้ที่มีตาน้อย ตาไม้ไม่เสีย ไม่มีรอยแตกร้าว เป็นแผล เป็นรอยทะลุ
   -  ไม้ที่เป็นรอยผุ ด่างหรือเน่าเปื่อย (ไม้ที่ยังไม่ได้ไสสังเกตยาก) ทดลองโดยใช้ค้อนเคาะไม้ดีจะมีเสียงแน่นแกร่ง ถ้าไม่ผุหรือเสีย เปราะ ไม่เหนียว มีเสียงดังผลุๆ เลื่อยไม่ติดคลองเลื่อย ไสกบขี้กบจะป่น  
   -  ราคาไม่แพงจนเกินไป

 

 

  1. การเลือกมาใช้ในงานรับน้ำหนักโดยตรง ได้แก่ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องการความประณีตมากนัก  เช่น  การก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  ไม้จำพวกนี้ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักและต้านทานแรงต่าง  ๆ  มากกว่าความสวยงาม  ความแข็งแรง  จึงเป็นข้อแรกที่จะต้องคัดเอาไม้ที่แข็งแรงเท่าที่จะสามารถทำได้  คือ  ต้องเป็นไม้ที่เนื้อแน่น  แข็งแกร่ง  เหนี่ยว  ไม่เปราะง่าย  ควรเลือกไม้แก่นหรือไม้ที่มีอายุเหมาะแก่การตัด  ไม่มีรอยชำรุดเสียหาย  เช่น  เป็นตา  ผุ  แตกร้าว  ปิดงอ  คด  โค้ง และเป็นไม้ที่ผ่านการผึ่งมาได้ที่พอเหมาะแก่งานประเภทนี้

ส่วนมากงานเฟอร์นิเจอร์ ที่นอนมาใช้คือ ไม้ยาง   ประโยชน์  ใช้ทำบ้านเรือน  เครื่องเรือนเฉพาะที่มีราคาถูก ๆ  สร้างบ้านใช้ทำ  ฝา  ฝ้า  หรือส่วน ที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก  นิยมใช้กันเพราะราคาถูก  หาง่าย
               ไม้ยาง  ลักษณะและคุณสมบัติเป็นไม้เนื้ออ่อนและหยาบ  มีสีน้ำตาลปนแดง ใช้ในที่ร่มทนทานพอใช้  แห่งช้า  ยืดหดง่าย  เลื่อยผ่าง่าย  บิดงอตามดินฟ้าอากาศ  ถ้าไสตอนไม้สด ๆ  อยู่จะไม้เรียบดีนัก  เสี้ยนมักจะฉีกติดกันเป็นขุยออกมา  ทำให้ขัดหรือทาน้ำมันไม่ค่อยดี  ใช้ในการสร้างรับน้ำหนักมาก ๆ ไม่ได้  ใช้ในที่ต้องการกรำแดดกรำฝนมากไม่ได้นอกจากจะทาสีน้ำมันป้องกันไว้  น้ำหนักต่อ  1  ลูกบาศก์ฟุตประมาณ  40-50  ปอนด์

               ร้านรามอินทราเฟอร์นิเจอร์ ของเราก็มีสินค้าไม้จริง มามายให้ลูกค้าเลือกใช้ส้อย อทิเช่น ชุดโต๊ะอาหาร ชุดเตียง ตู้เสื้อ โต๊ะแป้ง ตู้หัวเตียง และอีกมากมาย